เหตุการณ์เริ่มต้นห่างจากภาคแรก 4 ปี โดยเรื่องครั้งที่แล้วที่แล้วในภาคแรก พระเอกสุดฮา (Adam Sandler) เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนแห่งนิวยอร์ก และภรรยาอดีตช่างทำผม นางเอก (Jennifer Aniston) ที่ประสบความสำเร็จอย่างงงดงาม หลังจากที่ทั้งคู่สามารถไขคดีปริศนาฆาตกรรมลงได้อย่างสวยงาม ทั้งคู่จึงเริ่มต้นผันตัวมาเป็นนักสืบแบบเต็มตัวที่ยังไม่ค่อยมีงานให้ทำเท่าไหร่ แต่อยู่ดี ๆ เพื่อนเก่าอย่าง มหาราชา (Adeel Akhtar) ได้เชิญทั้งคู่ไปร่วมงานแต่งงานของเขากับเจ้าสาวชาวฝรั่งเศส คลอเดตต์ (Mélanie Laurent) บนเกาะส่วนตัว แต่สุดท้ายเจ้าบ่าวถูกลักพาตัวไป และมีเหตุฆาตกรรมปริศนาเกิดขึ้นกลางพิธีงานแต่ง ทำให้แขกในงาน สมาชิกครอบครัวต่างตกเป็นผู้ต้องสงสัย กลายเป็นคดีความที่นักสืบมือใหม่อย่างพระเอกและนางเอก ที่ต้องไล่ล่าตามไขคดีดูซีรีส์ออนไลน์ไปจนถึงปารีส
หลังจากที่ทั้งคู่ทิ้งท้ายด้วย Easter Egg หรือจะเรียกว่ากวนทีนหนังสืบสวนแนวจริงจังอีกเรื่อง โดยนั่งรถไฟ Orient Express เพื่อแซะไปถึงหนัง ‘Murder on the Orient Express’ (2017) และเชื่อมโยงไปถึงเจ้าของวรรณกรรมรหัสคดีต้นฉบับอย่าง Agatha Christie นักเขียนผู้เป็นต้นธารของวรรณกรรมแนวสืบสวนสอบสวนคดีฆาตกรรม หรือแนว Whodunit ใครฆ่าอารยา ทั้งปวง ซึ่งเป็นการทั้งพาดพิง ยั่วล้อ และให้ความเคารพหนังแนวฆาตกรรมอย่างมีนัยสำคัญ อย่างที่ภาคแรกทำเอาไว้ได้ค่อนข้างสำเร็จ ซึ่งในภาคที่ 2 นี้ก็เรียกได้ว่าตัวหนังก็ยังคงใช้สูตรสำเร็จเนื้อเรื่องหนัง Whodunit มาแบบเป๊ะ ๆ เหมือนในภาคแรกเป็นสูตรสำเร็จในแบบนิยายของ อกาธา คริสตี ที่เล่าเป็นเส้นตรงมาก ๆ ไม่มีบิดพลิ้ว ไม่มีหักมุมหักศอกอะไรทั้งสิ้น ซึ่งในองก์แรกจริง ๆ ก็ต้องถือว่ายังมีความน่าสนใจอยู่นะครับ แม้ว่ามันจะเป็นสูตรสำเร็จสไตล์ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ โดยเฉพาะเนื้อเรื่องที่พอนักสืบประสบความสำเร็จ ก็เลยหันมาเปิดสำนักงานนักสืบเพื่อรับงานเอง
แต่สิ่งที่มันทำร้ายตัวหนังอย่างร้ายแรงก็คือ การที่ตัวหนังในช่วงกลาง ๆ เรื่องกลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเป็นหนัง Whodunit เลยครับ คือไม่ให้เบาะแสคดีฆาตกรรมอะไรใด ๆ มีแต่เพียงเหตุการณ์แนวซิตคอมที่ยังคงติดมาจากภาคแรก เป็นอาการแนวเหตุการณ์พาไปพบเจอกับเรื่องราวการผจญภัยและแอ็กชัน มากกว่าจะพุ่งตรงไปที่การค้นพบรายละเอียดที่จะเป็นเบาะแสในชั้นต่อ ๆ ไปเหมือนอย่างหนังแนว Whodunit เรื่องอื่น ๆ ตัวหนังเกือบทั้งเรื่องแทบจะขับเคลื่อนด้วยบทแนวแอ็กชันผจญภัย ที่ก็ดันเป็นแอ็กชันแนวตลกร้ายกาว ๆ ไปเสียอีก และที่ถือว่าพาให้ย่ำแย่ไปอีกก็คือคู่รัก นิกและนางเอก ที่แสดงโดย แซนด์เลอร์และ อนิสตัน ที่จริง ๆ แล้วก็ต้องชื่นชมในแง่ของเคมีและมุกตลกที่ยังเข้าแข้งเข้าขา รับส่งมุกได้โบ๊ะบ๊ะไม่แพ้ภาคแรก โดยเฉพาะพวกมุกบทสนทนาง้องแง้ง แต่ก็ต้องเน้นย้ำอีกทีว่า สถานะของทั้งสองคนตอนนี้ก็ไม่ได้เป็นตำรวจรองบ่อนกับช่างเสริมสวยก๊อกแก๊กเสียแล้วน่ะสิครับ เพราะพอทั้งคู่หันมาเป็นนักสืบมืออาชีพ คือก็ไม่ปฏิเสธนะครับว่า เคมีและมุกฮาของทั้งคู่คือตัวหล่อเลี้ยงหนังให้มีความบันเทิงไปตลอดรอดฝั่งจริง ๆ เหมือนในภาคแรกนั่นแหละ
แต่พอได้ดูซีรีส์แล้วกลายเป็นว่าทั้งคู่ดันกลายเป็นนักสืบที่ดูไม่มืออาชีพกว่าภาคแรกไปเสียอย่างนั้น เพราะแทนที่ทั้งคู่จะได้ทำอะไรอย่างที่นักสืบในหนัง Whodunit ทำบ้าง แม้ในองก์แรกทั้งคู่จะดูมีทรงเป็นนักสืบแล้วแท้ ๆ แต่หลังจากนั้นเกือบทั้งเรื่อง ก็มีแต่เพียงบทสนทนาพูดคุยเจ๊าะแจ๊ะตามประสาผัว ๆ เมีย ๆ ผสมมุกจังหวะซิตคอม มุกบูลลีสังขาร และมุกใต้สะดือมากกว่าที่จะพยายามลงลึกจริงจังและเปิดเบาะแสในคดี ซึ่งมันก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตัวหนังแทบไม่มีรายละเอียดเชิงลึกที่เกี่ยวกับคดีฆาตกรรมสักเท่าไหร่
พอดูซีรีส์มาถึงจุดเฉลยปม แม้จะมีจังหวะหักมุมบ้างนิด ๆ แต่มันก็แทบไม่ได้ทำให้รู้สึกว้าวตอนเฉลยเท่าไหร่ เพราะนอกจากจะเดาง่ายมาก ตัวหนังมันก็แทบไม่มีเหตุมีผลอะไรให้เข้าใจได้ถึงแรงจูงใจของฆาตกรเลยด้วยซ้ำ เพราะเป็นการฆ่าด้วยเหตุผลที่ธรรมดาบ้องตื้นมาก ๆ ก็เลยทำให้ภาพรวมของการเป็นหนังฆาตกรรมในภาคนี้ดูย่ำแย่กว่าภาคแรกเสียอีก เพราะแม้ในภาคแรกจะเดาง่ายจัด ๆ แต่การให้รายละเอียดเบาะแส และแรงจูงใจบางอย่างกลับมีความน่าสนใจกว่า และที่สำคัญที่สุดก็คือ บทภาคนี้ใช้คนเขียนเดียวกันกับภาคแรกด้วยนะ ก็ได้แต่สงสัยว่ามาลงเวย์นี้ได้ไงเนี่ย สิ่งที่พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากภาคแรก ก็คงมีแค่เรื่องของงานโปรดักชันโดยรวมครับ โดยเฉพาะการผูกเรื่องให้มีการเดินทางไปยังต่างประเทศ ทั้งเกาะฮาวาย และปารีส ที่จะได้เห็นฉากบนหอไอเฟลด้วย รวมถึงงานโปรดักชันที่พอมีความเป็นหนังแอ็กชัน ก็เลยมีการเพิ่มงานเอฟเฟกต์หวือหวาเข้าไปอีกจำนวนมาก ก็ไม่รู้ว่าทีมงานแอบได้ยินฟีดแบ็กงานโปรดักชันที่ดูธรรมดาไปหน่อยในภาคแรก ก็เลยประชดด้วยการเอามาใส่ในภาคนี้หรือเปล่านะ ซึ่งก็ถือว่าแปลกหูแปลกตาดี รวมทั้งงานด้านมุมกล้องและวิชวลเอฟเฟกต์ที่ดีขึ้นในระดับหนังออนไลน์ ด้วย
ส่วนในแง่ตัวละคร การแสดงของแซนด์เลอร์และอนิสตัน ก็ยังคงแบกตัวหนังได้อย่างบันเทิง เป็นมุกที่แม้จะฮาบ้างไม่ฮาบ้าง แต่ก็ยังพอดูซีรีส์หล่อเลี้ยงให้พอมีความบันเทิง รวมทั้งมุกซิตคอมที่บางอันก็ใช้ได้ บางอันก็ไม่รู้จะฮายังไงจริง ๆ รวมทั้งนักแสดงจากภาคเก่าทั้ง อะดีล อัคห์ตาร์ (Adeel Akhtar) เจ้าของบทมหาราชา จอห์น กานี (John Kani) เจ้าของบทนายพลอูเลงกา บอดีการ์ดส่วนตัวของมหาราชาในภาคนี้ ที่ยังมีบทบาทเด่นน่าจดจำกว่านักแสดงชุดใหม่ ที่แทบไม่มีอะไรให้จดจำได้มากนัก
Leave a Reply