นานๆที จะมีหนังชีวประวัติ ที่เล่าเรื่องการเดินทางของรองเท้าสุดคบาสสิคอย่าง Nike Air Jordan ที่เริ่มมาจากตัวบริษัท Artists Equity ซึ่งเป็นบริษัทที่ พระเอก (Ben Affleck) และ เพื่อนพระเอก (Matt Damon) ก่อตั้งร่วมกัน รวมถึงเป็นผลงานการกำกับของแอฟเฟล็กด้วย เล่าเรื่องราวการทุ่มสุดตัวของบริษัทไนกี้ เพื่อคว้าตัวรุกกี้หรือนักกีฬาดาวรุ่งหน้าใหม่ของ NBA ในปี 1984 อย่าง ไมเคิล จอร์แดน (Michael Jordan) เพื่อให้มาเซ็นสัญญากับบริษัทให้ได้
ท่ามกลางอุปสรรคมากมายทั้งส่วนแบ่งของตลาดเว็บดูหนังออนไลน์ที่อยู่รั้งท้ายคู่แข่งตัวฉกาจอย่างคอนเวิร์สและอาดิดาส งบประมาณที่มีจำกัด ไปจนถึงตัวจอร์แดนเองที่ไม่ว่ายังไงก็ “ไม่เอาไนกี้เด็ดขาด” โดยเล่าผ่านมุมมองของ ซันนี วัคคาโร (รับบทโดยเดมอน) หนึ่งในผู้บริหารการตลาดด้านกีฬาแผนกบาสเกตบอลของไนกี้ ซึ่งในปี 1984 คือปีที่ ไมเคิล จอร์แดน ก้าวเข้าสู่ NBA เป็นปีแรกในฐานะรุกกี้ที่ถูกทีม ชิคาโก บูลส์ ดราฟต์เข้ามาเป็นอันดับ 3 แต่เจ้าตัวโด่งดังและเป็นที่จับตามองมาตั้งแต่สมัยเล่นอยู่ในมหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลนาแล้ว ช่วงมหาวิทยาลัยจอร์แดนสวมรองเท้าคอนเวิร์ส เมื่อก้าวเข้าสู่ NBA อาดิดาสก็เตรียมทุ่มดีลเพื่อคว้าตัวรุกกี้คนนี้มาเซ็นสัญญาให้ได้ แล้วม้ามืดนอกสายตาอย่างไนกี้ทำให้จอร์แดนตกลงเซ็นสัญญาพลิกประวัติศาสตร์ ก่อกำเนิดเป็นรองเท้า Nike Air Jordan ได้อย่างไร ‘AIR’ ได้พาเราไปสำรวจเส้นทางความกล้าได้กล้าเสียและกล้าเสี่ยงของดีลประวัติศาสตร์ในครั้งนี้
การเล่าเรื่องของ ‘AIR’ ค่อนข้างเป็นเส้นตรง อาจจะไม่ได้มีเหตุการณ์หักไปหักมาชวนเครียดหรือหักเหลี่ยมเฉือนคมจนใจสั่นเหมือนหนังแวดวงธุรกิจเรื่องอื่น เน้นการเล่าเรื่องง่าย ๆ ชัดเจน ตรงประเด็น เหมือนเราได้เดินทางไปดูหนังออนไลน์ไปพร้อมกับตัวละครซันนี สู่เส้นทางที่เริ่มแล้วต้องไปให้สุด ต้องทุ่มสุดตัว ผ่านทีละขั้น ทีละตอน ตั้งแต่การติดต่อประสานงานหาคนรู้จักและเส้นสายในวงการ การเข้าหาครอบครัวของนักกีฬา การโน้มน้าวผู้บริหาร ไปจนถึงการวางแผนเงื่อนไขสัญญาที่ต้องทำให้ดีที่สุด รัดกุมที่สุด
ซึ่งหนังสามารถปูพื้นให้คนดูอย่างเรารับรู้ได้ว่า ข้อจำกัดมากมายของไนกี้ในขณะนั้นทำให้การจะปิดดีลครั้งนี้ให้สำเร็จได้นั้นมันยากมาก ทำให้คนดูหนังออนไลน์เอาใจช่วยตัวละครและลุ้นอยู่ตลอดเวลาว่าความทุ่มเทที่ทำไปจะได้ผลตอบแทนกลับมาหรือไม่ ไนกี้จะสามารถเอาชนะคู่แข่ง (และเอาชนะใจจอร์แดน) ได้อย่างไร เป็นการเล่าเรื่องที่ไม่ต้องเล่นท่ายากก็สนุกและทำให้คนดูลุ้นไปด้วยได้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง หนึ่งในสิ่งที่ทำให้ AIR ดูหนังออนไลน์เพลินมาก ๆ ยิ่งถ้าชอบรองเท้าด้วยนะ ก็คือเคมีของนักแสดงที่เข้ากันสุดๆ ไม่ใช่แค่ตัวแอฟเฟล็ก (รับบท ฟิล ไนต์ ผู้ร่วมก่อตั้งไนกี้) และเดมอนที่เป็นเพื่อนซี้กันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตัวละครอื่น ๆ อย่าง เจสัน เบทแมน (Jason Bateman – รับบท ร็อบ สตราสเซอร์ ผู้จัดการด้านการตลาดของไนกี้) คริส เมสสินา (Chris Messina – รับบท เดวิด ฟอล์ค ตัวแทนนักกีฬาจอมเขี้ยว) แมตธิว เมเฮอร์ (Matthew Maher – รับบท ปีเตอร์ มัวร์ ผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบรองเท้า Air Jordan และโลโก้จัมป์แมน) และ วิโอลา เดวิส (Viola Davis – รับบท โดลอเรส จอร์แดน แม่ของไมเคิล จอร์แดน)
นอกจากนี้นักแสดงสมทบคนอื่น ๆ ยังเป็นตัวช่วยเข้ามาสร้างสีสันและเติมเต็มเรื่องราวให้สมบูรณ์ บทสนทนาและการพูดคุยมีความเป็นธรรมชาติ แทรกมุกตลกเป็นระยะพอให้อมยิ้ม ที่สำคัญไม่ต้องกลัวว่าจะจำตัวละครไม่ได้ เพราะคาแรกเตอร์แต่ละตัวเด่นชัด จดจำง่าย แสดงจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไนกี้ยุคนั้นออกมาได้อย่างชัดเจน แน่นอนว่าหนังได้แรงบันดาลใจและสร้างมาจากเหตุการณ์จริง จึงมีการสอดแทรกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงต้นยุค 80’s เอาไว้มากมาย ซึ่งตรงจุดนี้หากเราไม่รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นหรือไม่เข้าใจกระแสที่กำลังอินเทรนด์อยู่ในเวลานั้นก็อาจมีความมึนงง เล็กน้อยว่าเขาพูดถึงเรื่องอะไรกัน!? แต่จุดนี้ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่องราวจึงสามารถปล่อยผ่านได้โดยไม่เสียอรรถรส
นอกจากการกล่าวถึงเหตุการณ์และกระแสวัฒนธรรมที่กำลังบูมในยุคนั้น อีกหนึ่งความน่าสนใจที่ไม่พูดถึงเลยไม่ได้ของ ‘AIR’ ก็คือการแทรก Easter Eggs เกี่ยวกับวงการกีฬาบาสเกตบอลและชื่อของนักบาสที่เป็นสตาร์ของยุคนั้นเอาไว้หลายคน แฟนบาสคนไหนไปดูหนังต้องมีปลื้มปริ่มแอบยิ้มเมื่อได้ยินชื่อแต่ละคนแน่นอน ส่วนคนที่ชื่นชอบไนกี้เองก็คงถูกใจไม่แพ้กัน เพราะตัวหนังกล่าวถึงที่มาที่ไปของภาพจำเด่น ๆ จากแบรนด์ไนกี้เอาไว้ครบแบบไม่ยัดเยียด ทั้งที่มาของสโลแกน “Just Do It” ที่มาของโลโก้ Swoosh กฎเหล็กที่บริษัทยึดถือ เป็นต้น
เสน่ห์อย่างหนึ่งของหนังแนวธุรกิจ-สร้างแรงบันดาลใจก็คือ เมื่อดูแล้วคนดูมักจะได้พลังบวกหรือแนวคิดดี ๆ มาปรับใช้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่ง ‘AIR’ ก็ประสบความสำเร็จในจุดนี้ นอกจากความบันเทิงแบบย่อยง่ายแล้ว เรายังได้แง่คิดในการทำธุรกิจหรือการทำงานใหญ่ว่าบางครั้งความกล้าที่จะฝัน กล้าที่จะเสี่ยง และเลือกที่จะเชื่อความรู้สึกจากประสบการณ์ของตัวเองก็นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้ แต่แน่นอนว่ามันต้องมาพร้อมกับความทุ่มเท การวางแผนอย่างชาญฉลาด และการศึกษาหาข้อมูลอย่างละเอียดในทุก ๆ ทาง เพื่อสร้างเงื่อนไขที่ดีที่สุดที่ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะนำเราไปสู่ผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ด้วย
Leave a Reply